Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
อำนาจหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักงานปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
หน่วยตรวจสอบภายใน
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ข่าวบริหารงานบุคคล
แผนต่างๆ
คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
รายงานต่างๆ
ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการให้บริการ
งานการเงิน - การคลัง
E-service
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2563
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
คู่มือประชาชน
สำนักงานปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
กิจการสภา
เว็บบอร์ด
รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์ - ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
เว็บบอร์ด ถาม - ตอบ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม


v




หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
ดูเหยี่ยวเที่ยวเขาโพธิ์@ไชยราช
Responsive image
     ประเทศไทยมีรายงานพบ นกล่าเนื้อในเวลากลางวัน ประกอบด้วย เหยี่ยว นกอินทรีและอีแร้ง จำนวน ๕๕ ชนิด กลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีอพยพผ่านเขาโพธิ์ ตำบลไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน  ๒๓ ชนิด โดยระหว่างปลายเดือน กันยายน ถึง ต้นเดือนพฤศจิกายน โดยพบเหยี่ยวอพยพ ๖ ชนิดหลัก ที่มีจำวนมากกว่า ๑,๐๐๐ ตัว ได้แก่ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน เหยี่ยวหน้าเทา เหยี่ยวผึ้ง เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น เหยี่ยวนกเขาชิครา
    สำหรับนักนิยมธรรมชาติหรือนักท่องเที่ยวทั่วไปที่สนใจเดินทางไปชมเหยี่ยวอพยพ ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่พบเห็นได้ง่ายๆ ปีละครั้งในฤดูกาลอพยพต้นหนาว ควรให้เวลากับตนเองอย่างน้อย ๒-๓ ชั่วโมง ในการเฝ้ารอการอพยพผ่านของเหยี่ยวอพยพตามจุดต่างๆ ปริมาณการอพยพของเหยี่ยวแต่ละจุด จะผันแปรตามสภาพอากาศและทิศทางลม ดังนั้นควรอดทน เฝ้ารอแล้วจะได้ชมภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่มีโอกาศเห็นเหยี่ยวอพยพบินต่ำและใกล้ ตั้งแต่ ๐๘.๐๐ -๑๑.๐๐ น. และ ๑๕.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
     การเตรียมตัว ทั้งการแต่งกาย ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่อาจเปลี่ยนแปรกะทันหัน ป้องกันได้ทั้งแสงแดด หรือฝน และอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น เก้าอี้นั่ง ร่มกันแดด และกล้องส่องนกซึ่งสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ใช้กล้องส่องนกเป็นประจำ เช่น นักดูนก ควรใช้กล้องที่มีกำลังขยาย ๘ เท่า ที่มีความกว้างห้าเลนส์ ตั้งแต่ ๒๔ มม.ถึง ๔๒ มม . เช่น กล้อง ๘X๒๔ หรือ ๘X๔๐ เป็นต้นไป กล้องส่องนกในกลุ่มนี้จะมีน้ำหนักเบาที่ถือได้ ระยะนาน ยามต้องส่งกราดติดตามฝูงเหยี่ยวอพยพที่เคลื่อนตัวลงใต้ จะช่วยเพิ่มอรรถรสให้การส่องชมเหยี่ยว ที่สำคัญ ไม่ควรใช้กล้องส่องนก ส่องไปที่ดวงอาทิตย์โดยตรง จะทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตาจนถึงกับตาบอดได้ ดังนั้นหากส่องดูนกเหยี่ยวบินไปข้างหน้าอยู่เพลินๆ ต้องระวังหากมุ่งไปทางดวงอาทิตย์
     ฝูงเหยี่ยวอพยพร่อนเหนือลมร้อน เรียกว่า "Kettle" จะลอยตัวสูงขึ้น เมื่อลมร้อนอ่อนแรงหนุนจะพบได้ง่าย ในสภาพอากาสชื้น หลังฝนตก) เหยี่ยวจำต้องกระพือปีกบินด้วยแรงตัวจากฝูงเหยี่ยวที่รวมตัวกันจะแตกออกเป็นสายยาวเรียกว่า " Streamingout" เมื่อเหยี่ยวอพยพบินตามกันมาเป็นสายคล้ายกระแสน้ำไหล เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "River of raptors"
      ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่มีโอกาสพบเห็นเหยี่ยวอพยพบินต่ำและใกล้ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. และ ๑๕.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
     เหยี่ยว นกอินทรี และอีแร้ง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ การล่าทำร้ายให้บาดเจ็บหรือตาย หรือดักจับเพื่อซื้อขาย นำมาเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
   ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีในประเทศไทย
 
โพสเมื่อ : 26 ต.ค. 2565